วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



แผนผังราชวงศ์จักรี






รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
             พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
             ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์

การศึกษา

             พระองค์ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อสําเร็จการศึกษาเบื้องต้นแล้ว จึงได้เข้าศึกษาต่อแผนวิทยาศาสตร์พร้อมกับพระเชษฐาธิราชซึ่งกําลังศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์อยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ทรงประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชาวต่างประเทศได้ชนรถพระที่นั่ง เกือบทําให้พระองค์ต้องเสียพระจักษุ แพทย์ต้องถวายการรักษาจนหายเป็นปกติ พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพบสตรีผู้สูงศักดิ์ และได้เป็นคู่บารมีของพระองค์เองในปัจจุบัน
             สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ( ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร ) และ ม.ล. บัว กิติยากร สมเด็จฯ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว. สิริกิตติ์ กิติยากร เมื่อพระชันษา 5 ปี เรียนที่โรงเรียนราชินีล่าง ต่อมาย้ายไปเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์สามเสนทรงสนใจดนตรีมาก
             สมเด็จฯ ประสูติ ณ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า "สิริกิตติ์" เพราะดวงชะตากําหนดศุกร์เดียวกันกับสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ขณะที่ในหลวงทรงประสบอุปัทวเหตุและมี ม.ร.ว. สิริกิตติ์ ซึ่งพระบิดาเป็นเอกอัครราชทูตประจําอยู่สํานักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ แต่ได้มาอยู่สวิสชั่วคราวได้เข้าถวายการพยาบาลด้วย เป็นที่พอพระราชหฤทัยองค์ในหลวงเป็นที่ยิ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสําเร็จการศึกษา พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีราชาภิเษก สมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 นับแต่ทรงชาราภิเษกสมรสแล้ว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ
                1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
                    ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
                2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
                    ประสูติ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
                3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                    ประสูติวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
                4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
                    ประสูติวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อทรงผนวชแล้วได้ประทับที่ ณ พระตําหนักเพชรวัดบวรนิเวศ
              ก่อนเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ดํารงตําแหน่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า เคยดํารงตําแหน่งสุงสุด จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินาถ"

พระราชกรณียกิจ

  • พระราชทานกําเนิดมูลนิธิประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูถัมภ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506
  • ด้านสาธารณสุข จัดตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูถัมภ์
  • ด้านเกษตร
            1. การฟื้นฟูและปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัล ( แรกนาขวัญ ) และได้มีพระราชดําริจัดทํา " พันธ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทาน "
            2. งานวิศวกรรมการเกษตร โดยทรงมีพระราขดําริที่นําเอากรรมวิธีทําฝนเทียมมาแก้ไขปัญหาขาดแคลนนํ้า เพื่อการเกษตร และบริโภค ในท้องถิ่นทุรกันดาร
พระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดสร้างโรงงานทํานมผงในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อพ.ศ. 2512 และได้ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกาตรสร้างโรงสีขนาดเล็กที่นักวิชาการของกระทรวงเกษตรได้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ระบบแรงเหวี่ยง
            3. งานวิจัยค้นคว้าทางเกษตร ใช้ชาวเขารู้จักใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยให้ทดลองปลูกพืชหลายชนิดมีผลไม้ พันธุ์ฟัก และพันธุ์ไม้ดอก
            4. การประมง ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมงนําพันธุ์ปลาหมอเทศไปเลี่ยงในบ่อบริเวณสวนจิตรลดาพระราชวังสวนดุสิต ในปีพ.ศ. 2495 และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 เจ้าฟ้าอากิฮิโต มงกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้จัดส่งลูกปลานิลมาถวาย เมื่อทรงเลี้ยงพันธุ์ปลานิลประสบผลสําเร็จ โปรดฯ ให้กรมประมงจ่ายลูกปลานิลแก่ราษฎรนําไปเพาะเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2510
 และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็้นวันเฉลิมพระชนมพรรษา รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยได้ถวายพระเกียรติให้พระองค์เป็น " สมเด็จพระภัทรมหาราช "

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙

              เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร มีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายถึง
ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน
 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king9.htm






รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี


รัชกาลที่ ๘

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ
            1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
            2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

            พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต
            พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต
            พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
            พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
            พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น
            พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ

ประเทศไทยเข้าสู่สงครามอินโดจีนในปี พ.ศ. 2483

             รัฐบาลไทย ซึ่งขณะนั้น นายพลตรีพิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า เราควรจะเรียกร้องเอาดินแดนคืนมาจากฝรั่งเศส ขณะนั้นฝรั่งเศสกําลังทําสงครามกับเยอรมัน ประชาชนไทยพากันเดินขบวนเรียกร้องเอาดินแดนคืนเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2483
             พ.ศ. 2483 สงครามไทยกับฝรั่งเศสจึงเกิดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน กองทัพฝรั่งเศสในอินโดจีน แตกพ่ายยับเยินในที่สุดสงครามอินโดจีนก็ยุติลงด้วยการไกล่เกลี่ยของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2484 ได้มีการประชุมตกลงกันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนให้ไทย คือด้านหลวงพระบางฝั่งขวาของแม่นํ้าโขง ที่นครจําปาศักดิ์ กับท่าสามเหลี่ยมฝั่งขวา มีอาณาเขตทางด้านมณฑลบูรพาบางส่วนมีเมืองศรีโสภณ มงคลบุรี และพระตะบอง
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นส่งทหารเข้ามาบีบบังคับไทยเข้าร่วมทําสงครามมหาเอเซียบูรพากับญี่ปุ่น

เสด็จสวรรคต

             พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในบริเวณพระบรมมหาราชวัง วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน สิริพระชนมายุ 20 พรรษา 8 เดือน 20 วัน ทรงดํารงอยู่ในราชสมบัติ 12 ปี เป็นการสูญเสียครั้งสําคัญของไทยครั้งหนึ่ง

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

             เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king8.htm


รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี


รัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

พระราชประวัติ

              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับว่าเป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด ประสูติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิการยน พ.ศ. 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 14 คํ่า เดือน 11 ปีมะเส็ง ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา "
              เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์ และผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2

การขึ้นครองราชย์

              เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดแต่งตั้งสภาอิรัฐมนตรีขึ้นให้มีหน้าที่ให้คําปรึกษาราชการและบริหารการเมือง โปรดให้ร่วมการศึกษาวิทยุคมนาคมกับต่างประเทศ พระองค์เริ่มจัดงบประมาณของประเทศขึ้นเพราะขณะนั้นได้เกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก พระองค์เริ่มต้นตัดทอนงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกเหตุการณ์นี้เป็นมูลเหตุของการปฎิวัติใน ปีพ.ศ. 2475 ประองค์ทรงตัดทอนรายจ่ายของพระองค์เอง ข้าราชการที่รับราชการที่จนล้นงานก็ให้ออกจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นจํานวนมาก

 ศิลปวัฒนธรรมประเพณีแลการปกครอง

  • การแต่งกาย พ.ศ. 2475 มาแล้ว ผู้ชายไทยนิยมนุ่งกางเกงขายาว
  • การเลิกประเพณี ทรงให้เลิกพิธีศรีสัจปานกาล
  • ศิลปทางด้านปฎิมากรรมชั้นเยี่ยม ได้แก่ ปฎมบรมราชานุสรณ์
  • การศึกษา พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนวิชาวิทยาศาสตร์คณะราษฎร เมื่อทําการปฎิวัติเสร็จ ได้มีการประกาศแผนการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2475 มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมืองตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2477

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

             หลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตยขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยบุคคลคณะหนึ่งซึ่งชื่อว่า "คณะราษฎร" มีพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกเป็นผู้ก่อการยึดอํานาจการปกครองประเทศซึ่งพระองค์ก็ยอมรับรองอํานาจของคณะราษฎร ที่จะจํากัดพระราชอภิสิทธิของพระองค์ โดยคณะราษฎรได้ให้คํามั่นสัญญาแก่ประชาชนชาวไทยว่าจะแก้ไขภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกตํ่าให้ดีขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2476 ได้เกิดกบฎวรเดชขึ้น รัฐบาลแห่งคณะราษฎรได้ทําการปราบปรามจนสําเร็จ

เสด็จสวรรคต

             เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ตัดสินพระทัย สละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ด้วยโรคพระหทัยพิการ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร" พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

              เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king7.htm



รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๖


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

พระราชประวัติ

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

ทางด้านการศึกษาของพระองค์

             พระองค์ทรงได้รับการศึกษาการอบรมอย่างดียิ่งสมกับที่เป็นองค์รัชทายาทพระองคืทรงได้รับการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จากสมเด็จพระราชบิดาและนานาอาจารย์ผู้สันทัดแต่ละวิชาการ เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ตรงกับพ.ศ. 2436 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาได้โปรดให้พระองค์ออกไปศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรปที่โรงเรียนทหารบก แซนต์ เชิสต์ ( พ.ศ. 2441 - พ.ศ. 2442 ) ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นราชอุปัชฌายะ เสด็จประทับจําพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

การปกครอง และการเปลี่ยนแปลง

             ด้านการปกครอง ทรงปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับประชาชน ทรงสร้างดุสิตธานีเป็นที่ทดลองการปกครองแผนใหม่ ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ทรงประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
             พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารเข้าประจําการ
             พ.ศ. 2460 ให้เลิกโรงหวย ก.ข. โรงบ่อนการพนันต่างๆ ธงชาติให้เลิกเครื่องหมายเดิม เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
             โปรดให้หนังสือพิมพ์เอกชนออกแสดงความคิดเห็นได้ การเปลี่ยนแปลงการใช้ วัน เดือน ปี เช่น วันขึ้นปีใหม่ ให้นับเอา 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้เลิกใช้จุลศักราชรัตนโกสินทรศก ให้ใช้พุทธศักราชแทน
             พ.ศ. 2453  ทรงจัดตั้งกองเสือป่า
             พ.ศ. 2454 โปรดให้ตราข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการปกครองลูกเสือขึ้น

             การศึกษา ทรงโปรดยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ภายหลังให้ยกโรงเรียนนี้เป็นจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย เริ่มต้นฝึกหัดครูชายและหญิง และโปรดให้หัวเมืองต่างๆ มีการศึกษาถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์
             พ.ศ. 2461 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์
             พ.ศ. 2464 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา

             ศาสนา พระองค์ทรงได้ทํานุบํารุงทางวัด แล้วยังให้พระภิกษุได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงสั่งสอนข้าราชการในเรื่องศาสนาด้วยพระองค์เอง และพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

             การคมนาคม ได้โปรดให้ขยายทางรถไฟสายใต้ไปจนติดต่อกับทางรถไฟสายมลายูของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2464 และขยายทางรถไฟสายเหนือ ถึงเชียงใหม่ ทางรถไฟสายตะวันออกถึงกบินทร์บุรี พร้อมกับทรงโปรดให้เชื่อมทางรถไฟสายต่างๆ ไว้ที่สถานีกรุงเทพฯเป็นชุมทางแห่งเดียว และได้โปรดให้สร้างสะพานพระราม 6 ขึ้น เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้ให้ถึงสถานีกรุงเทพฯ
            การสาธารณสุข พ.ศ. 2454 ทรงตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
การกบฎกับการสงคราม กบฎ ร.ศ. 130 ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน ได้ร่วมกันคิดที่จะทําการปฎิวัติ เมื่อ ร.ศ. 130 ตรงกับ พ.ศ. 2454 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย หัวหน้าที่เป็น นายทหารผู้ใหญ่มียศอย่างสูงคือ พันตรีหลวงพิฆเนศวร์ประสิทธิรักษ์ ความคิกของพวกก่อกบฎแบ่งเป็น 2 พวก

             1. ต้องการจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ คือ มีประธนาธิบดีเป็นประมุข
             2. ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิประไตยโดยจะทําการใน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455
ซึ่งเป็นวันถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา แต่ยังไม่กระทําการ ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึง พันเอกหม่อมเจ้าพันธุประวัติ เจ้ากรมช่างแสงได้ทรงทราบเรื่องราวรายละเอียดทั้งหมดจึงได้ทําการจับกุม พวกที่ถูกประหาร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลดลงเป็นจําคุกตลอดชีวิต

ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

             เป็นการรบกันระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี และอีกฝ่ายหนึ่งมี อเมริกา เบลเยี่ยม อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตัดสินพระทัยส่งทหารไปช่วยฝ่ายส้มพันธมิตร

             สาเหตุที่พระองค์ส่งทหารไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตร
     1. เยอรมัน ทําลายความเป็นกลางของเบลเยี่ยม ซึ่งเท่ากับละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
     2. เยอรมันด้อยกว่าพันธมิตรทุกอย่าง
     3. เพื่อจะได้เผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทย ให้นานาประเทศรู้จักชาติไทย
     4. เพื่อขจัดปัญหาสนธิสัญญาต่างๆ ที่นานาชาติพยายามผูกมัดไทย และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงส่งทหารเข้าสู่สงคราม

ประโยชน์ของไทยที่ได้รับจากผลของสงคราม

           1. ทําให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และพร้อมกันนั้น ชาติไทยก็ได้รับเกียรติยกย่องให้เท่าเทียมกับอารยประเทศ
           2. ความไม่เสมอภาคกับนานาประเทศ ที่เคยมีอยู่กับไทยก็ค่อยๆลดน้อยลง โดยความช่วยเหลือของ ดร. ฟรานซิสบีแซร์ บุตรเขยของประธานาธิบดีวิลสัน ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยากัลยาณไมตรี
           3. ไทยได้ยกเลิกสัญญาเก่าๆ ที่เคยทําไว้กับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี เช่นเดียวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็เป็นอันยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
           4. ไทยตั้งพิกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้าได้โดยเสรีนอกจากบางอย่าง ซึ่งได้ทําไว้กับอังกฤษ อิตาลี เป็นสนธิสัญญาพิเศษ
          5. เมื่อหมดอายุสัญญาแล้ว ไทยก็ได้ความเสมอภาคเท่าเทียมกับนานาประเทศโดยสมบูรณ์
          6. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ

วรรณคดีและกวี

             พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่นํามาใช้เป็นแบบเรียนมี
                     1. มงคลสูตร
                     2. พระนลคําหลวง
                     3. ธรรมาธรรมะสงคราม
                     4. มัทธะพาธา
                     5. สาวิตรี
                     6. ตามใจท่าน

เสด็จสวรรคต

             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 จนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2468 เริ่มประชวรด้วยโรคลําไส้และโลหิตเป็นพิษ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระอาการประชวรก็กําเริบมากขึ้น จนเวลา 13.45 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก็เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิ์พิมาน ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี มีพระราชธิดาองค์เดียวทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ

 พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖

             เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว





รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ 2 ข้อ

                1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
                2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

             การปกครอง พ.ศ. 2446 มีพระราชบัญญัติ ลักษณะเกณฑ์ทหารการปกครองฝ่ายทหาร และพลเรือน จึงแยกจากกันโดยสาเหตุ
                1. กรมต่างๆ ทํางานไม่เท่ากัน
                2. เกิดมีช่องทางทุจริตให้พนักงานในกรมบางกรม
                3. อํานาจของเสนาบดีแต่ละกรม เลื่อนไปจากเดิม
                4. หน้าที่ฝ่ายกรมต่างๆ ทางทหารและพลเรือนปนกันยุ่งมาก
                5. เสนาบดีมีเกียรติไม่เสมอกัน เพราะงานเป็นต้นเหตุ
             ประกอบกับพระองค์ได้รับรายงานแบบแผนการจัดคณะเสนาบดี จากสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์โรปการ ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ที่ยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกําหนดให้คณะเสนาบดี จัดเป็นกระทรวงเดิม มี 12 กระทรวง แก้ไขจนเหลือ 10 กระทรวง คือ
                1. กระทรวงมหาดไทย
                2. กระทรวงกลาโหม
                3. กระทรวงการต่างประเทศ
                4. กระทรวงนครบาล
                5. กระทรวงวัง
                6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
                7. กระทรวงเกษตรพานิชการ
                8. กระทรวงธรรมการ
                9. กระทรวงโยธาธิการ
              10. กระทรวงยุติธรรม

การบริหารงานส่วนภูมิภาค

             การปกครองมณฑลได้วางระเบียบการปกครองแบบลักษณะเทศาเทศาภิบาลขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2437 - 2439 มณฑลทั้ง 6 นี้ จึงเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะมณฑลเทศาภิบาลด้วยการปกครองแบบนี้ มีผู้บัญชาการมณฑลเป็นผู้บริหารงานในมณฑลนั้นๆ ตามนโยบายของเสนาบดี ตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีการให้เงินเดือนสร้างบ้านพักหลวงให้อยู่อาศัย งดการกินเมืองแบบเก่าๆ

การเลิกทาส

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าทาสมักจะถูกนายเงินกดขี่ข่มเหง ต้องทํางานอาบเหงื่อต่างนํ้า ทาสบางคนที่ไม่ทําตามคัาสั่งจะถูกลงโทษอย่างทารุณ ถึงเลือดตกยางออก แม้จะทําผิดเพียงเล็กๆน้อยๆ พระองค์ทรงพระเมตตาต่อมนุษย์ ด้วยทรงเห็นว่าไม่ยุติธรรม ยังทรงมีพระราชดําริด้วยว่า การมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของชาติการเลิกทาส พระพุทธเจ้าหลวงทรงเห็นว่าควรลดจํานวนทาสลงจึงทรงตราพระราชบัญญัติลดทาส เมื่อ พ.ศ. 2411 จนกระทั่ง พ.ศ. 2448 จึงมีพระราชบัญญัติเลิกทาส ทาสที่ปรากฎในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอยู่ 7 พวกคือ

          1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตังเองหรือถูกคนอื่นขายให้แก่นายเงิน ต้องทํางานจนกว่าจะหาเงินมาใช้แทนเงินราคาขาย จึงจะหลุดเป็นไท
          2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อแม่ในขณะเป็นทาสนายเงินอยู่ ลูกที่ออกมาก็ตกเป็นทาสไปด้วย
          3. ทาสได้มาแต่บิดามารดร คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อ หรือ แม่ที่เป็นทาส
          4. ทาสท่านให้ คือ ทาสของคนอื่นที่ยกให้กับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีค่าเหมือนยกสิ่งของเปลี่ยนมือกัน
          5. ทาสที่ช่วยมาจากโทษทัณฑ์ คือ ทาสที่ถูกคดีความ พอช่วยให้พ้นโทษแล้วก็เอามาใช้เป็นทาส
          6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ทาสที่ได้มาจากคนที่ถูกภัยธรรมชาติหมดตัว ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ยามข้าวยากหมากแพง
          7. ทาสเชลย คือ ทาสที่แม่ทัพนายกองได้มาจากส่วนแบ่งเชลยจากการออกรบสงคราม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดําเนินนโยบายด้วยพระปรีชาญาณอย่างสุขุมรอบคอบ ทรงดําเนินงานเพื่อเลิกทาสด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2448 ทรงเลิกทาสแต่ละจําพวกด้วยวิธีการต่างๆคือ
  • ทาสเชลย ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระได้เมื่อมีอายุ 60 ปี
  • ทาสนํ้าเงิน ให้หมดค่าตัวเมื่ออายุ 60 ปี เช่นเดียวกับทาสเชลย
             เมื่อคราวเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อ พ.ศ. 2420 พระองค์ทรงมีพระชนม์ได้ 24 ชันษา ซึ่งนับจํานวนวันได้ 8.766 วัน ( ปีละ 365 วัน 24 ครั้ง กับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ อีก 6 ครั้ง ) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จํานวน 8.767 บาท ไถ่ถอนทาสได้ 44 คน ทาสทั้ง 44 คน ที่ได้รับการไถ่ถอนนั้น ทรงกําหนดให้เป็นพวกที่อยู่กับนายเงินรายเดียวมาไม่ตํ่ากว่า 25 ปี เพราะทรงพระราชดําริว่า " พวกเขาคงเป็นคนดีมากกว่าคนชั่ว นายเงินคนเดิมจึงยังคงเก็บตัวพวกเขาไว้เป้นสมบัติของตนไม่ขายต่อให้พ้นๆไปเสีย"
             พ.ศ. 2417 ได้ออกพระราชบัญญัติลูกทาส หญิงชายเกิดตั้งแต่ ปีมะโรงอายุ 21 ปี ให้หลุดเป็นไทแก่ตน ลูกที่พ่อแม่จะขายให้ไปเป็นทาสต้องมีอายุไม่ตํ่ากว่า 15 ปี และลูกต้องยินยอมตามกรมธรรม์ด้วย
             พ.ศ. 2448 ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร ห้ามการซื้อขายทาส และบรรดาลูกทาสก็ให้ปลดปล่อยเป็นไทให้หมด พวกที่เป็นทาสเก่าให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนหมดค่าตัว

             การออกกฎหมาย ได้อาศัยพวกลูกขุนช่วยเหลือพวกลูกขุน มี 2 พวก คือ
                       1. ลูกขุน ณ ศาลาได้แก่พวกข้าราชการและเสนาบดี
                       2. ลูกขุน ณ ศาลหลวงได้แก่ ผู้พิพากษาคดี มาเลิกใช้ใน พ.ศ. 2416 หลังจากที่พระองค์ทรงกลับจากประพาสอินเดีย พระองค์ได้นําเอาแบบการมีสภาของอินเดียมาใช้ พ.ศ. 2417 จึงโปรดให้ตั้งมนตรีสภาขึ้นสองสภา คือ รัฐมนตรีสภา กับ องคมนตรีสภา

การแก้ไขขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

             ที่สําคัญคือการตัดผมชาย ให้ใช้แบบสากลเลิกทรงผมมหาดไทย หญิงไว้ผมยาว เครื่องแบบทหารก็เปลี่ยนแบบฝรั่ง เครื่องแบบข้าราชการพลเรือนเต็มยศ ใช้เสื้อแพรสีกรมท่าปักทองมีขอบคอและขอบข้อมือ ส่วนเวลาปรกติใช้เสื้อปิดคอ มีผ้าผูกคออย่างฝรั่ง ผ้านุ่งใช้ผ้าม่วงทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ต่อมาภายหลัง เสื้อให้ใช้เปลี่ยนเป็นเสื้อคอปิด นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึง พ.ศ. 2475

การทหาร

             พระองค์ได้ทางเร่งรัดการปฎิรูปทางการทหาร ให้ทันสมัยเลียนแบบยุโรปได้ส่งราชโอรสไปศึกษาวิชาทหาร ณ ยุโรป ปรับปรุงยุทธวิธีทางทหาร ยุบตั้งกรมกองต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 9 กรม กรมทหารบก 7 กรมทหารเรือ 2 กรม

             พ.ศ. 2430 ได้ตราพระราชบัญญัติ ทหารขึ้นรวมกรมทหารเรือ เป็นกรมยุทธนาธิการตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกขึ้น
             พ.ศ. 2345 ตั้งกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บัญชาการรบทางทหารทั่วไป

การสงคราม

              ปราบฮ่อครั้งที่ 1
              ฮ่อคือพวกจีนกบฎไทเผ็งของจีน การปราบฮ่อครั้งที่ 1 เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2418 ได้โปรดให้พระยามหาอํามาตย์เป้นทัพที่ 1 เจ้าพระยาพิชัยเป็นทัพที่ 2 เจ้าพระยาภูธรภัยเป็นทัพที่ 3 ตีพวกฮ่อแตกหนีไปจากชายแดนไทย

             ปราบฮ่อครั้งที่ 2
             เมื่อ พ.ศ. 2421 โปรดให้กองทัพเมืองทางเหนือไปก่อน ภายหลังให้เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาวัชรานุกูลเป็นทัพหนุน แต่ปราบพวกฮ่อไม่สําเร็จ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชถูกกระสุนปืนของพวกฮ่อต้องถอยทัพกลับคืน

             ปราบฮ่อครั้งที่ 3
             เมื่อ พ.ศ. 2428 โปรดให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งขณะนั้นยังเป็นกรมหมื่นทัพที่ 1 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งขณะนั้นเป็นหมื่นไวยยวรนารถ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองหลวงพระบางเป้นทัพที่ 2 การรบครั้งนี้ พวกฮ่ออ่อนน้อมต่อไทย
            ปราบฮ่อครั้งที่ 4
            พวกฮ่อเผาเมืองหลวงพระบาง ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพไปปราบจนพวกฮ่อแตกหนีไป

            การเสียแว่นแคว้นลาวแก่ฝรั่งเศส
             หลังจากปราบฮ่อแล้วฝรั่งเศสได้ส่งทหารเข้ายึดหัวเมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก ไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารออกไป ผลที่สุดไทยก็ต้องยอมยกให้ฝั่งเศสไปโดยปริยายและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เดียนเบียนฟู"
             พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศส พยายามเรียกร้องเอาดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงจากไทย แต่ไทยไม่ยอมให้ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวบรวมเอาทหารญวนบุกรุกเข้ามาในเขตแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงของไทย แต่ไทยไม่ยอมในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดปากอ่าว และส่งทหารเข้ายึดเกาะสีชัง ไทยมีกําลังไม่พอจึงยอมปฎิบัติตามคําเรียกร้องของฝรั่งเศส
             พ.ศ. 2449 ไทยต้องทําสัญญาอีกฉบับ ยกเขมรส่วนในมีเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปจนจดเกาะกูด
             พ.ศ. 2452 อังกฤษเริ่มเข้ามารุกรานไทยเพราะอังกฤษเห็นฝรั่งเศสบีบไทยได้อังกฤษจึงทําบ้าง ซึ่งครั้งนี้ไทยต้องเสียกลันตัน ตรังกานู ปลิส และเกาะใกล้เคียงให้กลับอังกฤษ
             พ.ศ. 2434 พระเจ้าชาร์ นิโคลาส ที่ 2 แห่งประเทศรัสเซียได้เสด็จมาประพาสประเทศไทย เป็นการต้อนรับที่เต็มไปด้วยไมตรี
             พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

ศาสนา

          พ.ศ. 2431 พระองค์ได้ทรงอาราธนา พระราชาคณะให้มาช่วยชําระคัมภีร์พระไตรปิฎกให้เป็นที่เรียบร้อย
          พ.ศ. 2441 ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีผู้พบพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าอุปราชอินเดียมาควิสเตอร์ซัน ได้จัดชิงพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย
          พ.ศ. 2445 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครอง คณะสงฆ์เพื่อที่จะได้จัดสังฆมณฑลให้เป็นที่เรียบร้อย แบ่งคณะมหาเถระสมาคมออกเป็น 4 คณะใหญ่ด้วยกันคือ คณะกลาง คณะเหนือ คณะใต้ และคณะธรรมยุติกนิกาย
          พ.ศ. 2435 จัดตั้งระเบียบการศึกษาพระศาสนาให้มีสนามสอบไล่ พระปริยัติธรรม ได้โปรดให้ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเพื่อควบคุม

             โปรดให้สร้างวัดต่างๆขึ้นมาหลายวัด เช่น วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วักราชบพิธ วัดจุฑาธรรม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงจําลองพระพุทธชินราชมาจากพิษณุโลก มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร รวบรวมพระพุทธรู)ที่ตกค้างมาประดิษฐไว้นอบระเบียงวัดเบญจมบพิตร ตั้งมหาธาตุวิทยาลัย

การศึกษา

            โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นอาจารย์ใหญ่
             พ.ศ. 2424 โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดผู้ที่ต่อไปจะทําหน้าที่นายร้อยนายสิบ
             พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
             พ.ศ. 2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ
             พ.ศ. 2435 โปรดให้ตั้งกระทรวงกรรมการ เป็นกระทรวงเสนาบดี และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เดี๋ยวนี้โดยมีครูเป็นชาวอังกฤษ
             พ.ศ. 2439 โปรดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ 6 คน
             พ.ศ. 2440 ให้มีการสอบชิงทุนขึ้นเป็นครั้งแรก
             พ.ศ. 2444 ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ของผู้แต่งหนังสือ ออกประกาศใช้บังคับ
             พ.ศ. 2445 ส่งข้าหลวงไปดูงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น
             พ.ศ. 2447 ได้โปรดให้รวมหอสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอพระพุทธสังคหะ รวมกันตั้งเป็นหอสมุดแห่งชาติ

สวรรคต

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ( ตรงกับวันอาทิตย์ ) พระองค์ทรงมีพระสมมัญนามอีกสองอย่างคือ พระพุทธเจ้าหลวง และพระปิยะมหาราช มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 77 พระองค์ ประสูติก่อนราชาภิเษก 2 พระองค์ หลังราชาภิเษกแล้ว 75 พระองค์ เมื่อหลังจากสวรรคตแล้ว พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยุพราชได้ชักชวนประชาชนร่วมกันบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้าไว้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕

           เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king5.htm




รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

             การปกครอง ในรัชกาลนี้ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเฉพาะในด้านประเพณีที่มีมาแต่เดิมๆ อย่างเช่น ปรับปรุงประเพณีการเข้าเฝ้า มีพระบรมราชโองการให้ทุกคนสวมเสื้อเข้าเฝ้า โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และถวายฎีการ้องทุกข์ทุกวันโกนเดือนละ 4 ครั้ง โดยพระองค์ท่านจะเสด็จออกมารับการร้องทุกข์นั้น
             กฎหมาย มีกฎหมายที่ออกในรัชกาลนี้มาก มีทั้งกฎหมายอาญาหลวง และมีประกาศเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน
             ศาล ยังมิได้มีการรวบรวมเป็นกระทรวงเดียวกัน แต่โปรดให้ตั้งศาลต่างประเทศระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ และให้เกิดมีศาลกงศุลขึ้นเป็นครั้งแรก
             ทหาร โปรดให้มีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป โดยจ้าง "ร้อยเอกอิมเปย์" นายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ประจําประเทศอินเดียมาเป็นครูฝึก พ.ศ. 2394 ได้จัดกองทหารประจําพระองค์ออกเป็น 2 กอง คือ "กองทหารรักษาพระองค์" ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม และ "กองทหารหน้า"
             ทหารเรือ มีการสร้างเรือชนิดที่ใช้เครื่องจักรกลขึ้น และทรงตั้งกรมเรือกลไฟ
             ตํารวจ มีตํารวจพระนครบาลขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 การตัดถนนและขุดคลอง โปรดให้สร้างถนนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก
             การขุดคลอง มีการขุดคลอง เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ และคลองดําเนินสะดวก
             ศาสนา พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงพุทธศาสนา คือ ทรงให้กําเนิดธรรมยุติกนิกาย มีการสร้างพระอารามหลวง มี 5 พระอารามได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดประทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม วัดมกุฎกษัตริยาราม

วรรณคดี และกวี

              พระราชนิพนธ์ที่สําคัญ
1. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
2. บทระบํา
3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
4. บทเบิกโรงละครหลวง
5. โคลงพระราชทานพร
6. จารึกวัดราชประดิษฐ์
7. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย หมวดภาษา และวรรณคดี
กวีในรัชสมัย เช่น พระยาอิศรานุภาพ หม่อมราโชทัย คุณสุวรรณ

ศิลปกรรม

              สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ จิตรกรรม มีปรากฎอยู่ในพระอุโบสถ และพระวิหารวัดบวรนิเวศน์ ปฎิมากรรม มีการหล่อพระพุทธรูป

การศึกษา 

             โปรดจ้างแหม่มเลียวโนเวนส์ มาจากสิงคโปร์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และพระราชโอรสพระราชธิดา ด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปภายหน้า

การติดต่อกับต่างประเทศ

             ในรัชกาลนี้ มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มีการทําสนธิสัญญากับนานาประเทศ เริ่มด้วยรัฐบาลอังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกงในขณะนั้นเป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการเข้ามาขอเจรจาทําสนธิสัญญาทางไมตรีมาทางเรือรบ สนธิสัญญาที่ทําขึ้นมีผลที่สําคัญบังเกิดขึ้นคือ ก่อให้เกิดสิทธิภาพนอกอาณาเขต และอนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย
             การทูตของไทย พ.ศ. 2400 พระองค์ทรงโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) เป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ
             ไทยเสียเขมร ต่อเนื่องมาจากฝรั่งเศสครองญวนได้แล้ว จึงมาบังคับเขมรโดยอ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนมาก่อน สมเด็จพระนโรดมกษัตริย์ของเขมร ขณะนั้น ยินยอมทําสัญญาลับยอมอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2406 และได้ส่งหนังสือมากราบบังคมทูลว่า ที่ยอมฝั่งเศสนั้นเพราะถูกบังคับ และต่อมา วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญายกกัมพูชาให้ฝรั่งเศส ศึกเมืองเชียงตุงการตีเมืองเชียงตุงนี้ ค้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาล ที่ 3 แต่ตีไม่สําเร็จ

เสด็จสวรรคต

            พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตําบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามที่พระองค์ทรงทํานายเอาไว้ว่า จะเกิดในวันขึ้น 1 คํ่า เดือน 10 พ.ศ. 2411 หลังจากที่กลับมาแล้วก็ทรงประชวรหนัก และได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 พระชนมายุได้ 65 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 17 ปี มีพระราชโอรส และพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 82 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔

            เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king4.htm



รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
             พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
             ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

          การปกครองเป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2 รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน
ศาสนา เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีก
          วัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา

วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ

          1. เสพาขุนช้างขุนแผน
          2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย
          3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3
          4. โคลงปราบดาภิเษก
              กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์
ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2
สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียง ขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตร
ป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

              ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา ( ทอเรีย ) คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอํามาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่ละเมา
             การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี
             ติดต่อกับลาว ลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตั้งแต่รัชกาลก่อนพอเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 3 ลาวก็มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง สาเหตุมาจากเจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2368 และทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้
             พ.ศ. 2369 เกิดมีข่าวลือว่าอังกฤษจะทําสงครามกับไทย เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ามากวาดต้อนผู้คนของไทยไป ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพ แต่ไม่ทันได้สู้รบกัน เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนผู้คนไปจันทน์คุณหญิงโม
             ภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้
            ในปี พ.ศ. 2371 พอเสร็จศึกทรงโปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และแม่ทัพสําคัญที่ปราบพวกกบฎอีกสองท่านคือ พระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยาอภัยภูธร ได้ราบคาบ จนสามารถจังเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวขังกรงประจานที่ท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนตาย
             การติดต่อกับอังกฤษ เมื่อเริ่มรัชกาล ไทยเคยช่วยอังกฤษรบกับพม่า แต่ไม่สําเร็จ จน พ.ศ. 2368 ผู้สําเร็จราชการอังกฤษประจําอินเดียได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยให้ช่วยรบกับพม่า เมื่อรบชนะ อังกฤษไม่ได้ให้อะไรกับไทย ไทยจึงหันมาตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีกับอังกฤษ ไทยกับอังกฤษทําสัญญากัน เรียกว่า "สัญญาเบอร์นี่" ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัตยาบัน เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2369
            การติดต่อกับอเมริกา ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 3 นี้เอง พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็คสัน ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูตเข้ามาเพื่อทําสัญญาการค้า

เทคโนโลยีของไทยภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก

            การพิมพ์ หมอบรัดเล่ย์ มิชชั่นนารีอเมริกา นํ้าแท่นพิมพ์เป็นภาษาไทย แท่นแรกจากสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2379 ตัวพิมพ์อักษรไทย ร้อนโทเจมส์โลว์ เป็นผู้ประดิษฐ์แบบอักษรไทยขึ้นสําเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 การแพทย์ พวกมิชชั่นนารีจําหน่ายยาแก่คนทั่วไป ดําเนินการครั้งแรกพักริมวัดเกาะตอนสําเพ็ง
พ.ศ. 2379 เริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ
พ.ศ. 2379 การผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมแผนปัจจุบัน
พ.ศ. 2390 การใช้ยาสลบ โดยหมอเฮ้าส์
            พวกมิชชั่นนารีอเมริกา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่คนไทย เช่น พระบาทสมเด้จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เดินเรือ วิชาช่าง และต่อกลเรือไฟได้เป็นครั้งแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ศึกษาวิชาการต่อเรือกําปั่นใบแบบฝรั่งเศสได้อย่างดี ต่อลําแรกได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 2378 และตัดแปลงเป็นเรือรบ

ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

               หมอเฮ้าส์ มิชชั่นนารี ผู้ที่ทําให้คนไทยรู้จักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสและแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการศึกษา การศึกษาภาษาอังกฤษ มิชชั่นนารีอเมริกันชื่อ เจสซี่ คาสแวส์ ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ขนบธรรมเนียมและประเพณี จากการที่มีพวกมิชชั่นนารีมาอยู่ในไทย ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เลิกประเพณีเข้าเฝ้าโดยไม่ใส่เสื้อ

เสด็จสวรรคต

             พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เวลา 8 นาฬิกา สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา มีพระราชบุตร 22 พระองค์ พระราชบุตรี 29 พระองค์
             พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓
 เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระ
บรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king3.htm



รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๒

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367) 
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

พระราชประวัติ

              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
          1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
          2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 

พระราชกรณียกิจที่สําคัญ

พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

              การปฎิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทานในพระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการค้า ที่ทําตามแบบเดิม คือให้พระคลังสินค้ามีอํานาจในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากํากับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกําหนดสักเลข และพระราชกําหนดห้ามมิสูบและขายฝิ่นสถาปัตยกรรม ขยายเขตพระบรมมหาราชวังสร้างสวนขวา พระสมุทรเจดีย์ และสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่พระราชกรณียกิจลงสรง พระกําหนดพิธีวิสาขบูชา พระราชพิธีอาพาธพินาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทํานุบํารุงพุทธศาสนา เช่น การปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนาสวดมนต์ การสร้างพระไตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น พระสุนทรโวหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง

บทพระราชนิพนธ์ในพระองค์ ได้แก่

         1. บทละครในเรื่องรามเกียรติ์
         2. บทละครในเรื่องอิเหนา
         3. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง คาวี ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย
         4. กาพย์แห่เรือชมเครื่องคาวหวาน
         5. บทกาพย์โขน ตอนนางลอย พรหมาสตร์ นาคบาศ และเอราวัณ
         6. กลอนเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

             การติดกับพม่า
             พ.ศ. 2352 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระชนมายุได้ 43 พรรษา นาน 2 เดือน พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้โปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เป็นจอมทัพไปทรงปราบปรามพม่าได้
             พ.ศ. 2363 พม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยมีพระเจ้าจักกายแมง ต่อจากพระเจ้าปดุง ได้ข่าวว่า ไทยเกิดโรคระบาด จึงยกทัพมาตี ไทยได้จัดกองทัพไปป้องกันตามทางที่พม่าจะเดินทางเข้ามา เช่น กาญจนบุรี เพชรบุรี ถลาง สงขลา พัทลุง และตาก พม่ารู้ข่าวก่อนจึงไม่กล้ายกทัพมา

             การติดต่อกับญวน
             พ.ศ. 2353 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าเวียตนามยาลองกษัตริย์ญวน ได้แต่งตั้งให้ทูตเดินทางมาเคารพพระบรมศพ พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการเพื่อขอเมืองพุทธไธมาศกลับคืน จึงยอมให้เพื่อสมานพระราชไมตรี

             การติดต่อกับกัมพูชา ( เขมร )
              พ.ศ. 2353 สมเด็จพระอุทัยราชา กษัตริย์เขมร ถูกรัชกาลที่ 1 บริภาษไปเมื่อคราวเข้าเฝ้า จึงผูกใจเจ็บไว้ ครั้นรัชการที่ 1 สวรรคต จึงหันไปพึ่งอํานาจญวนด้วยสมเด็จพระอุทัยราชากลัวว่าไทยจะยกทัพไปปราบปราม ญวนให้นักองโปโหคุมทหารมากํากับเขมร สมเด็จพระอุทัยราชาคิดเสียดายเมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง จึงปรึกษากับญวนซึ่งมีนักองโปโหเป็นกองกําลัง นักองโปโหก็เสนอแนะให้ฟ้าทะละหะ ยกทัพไปไทยโดยทําทีว่าจะไปเก็บค้างคาวและยมศิลาตามประเพณี ถ้าเห็นว่าอ่อนแอก็ให้โจมตีเมืองพระตะบอง แต่ฝ่ายไทยไหวทัน จึงตีกองทัพเขมรแตกพ่ายไป

            การติดต่อกับจีน ในรัชกาลที่ 2 โปรดให้ไปเจริญทางพระราชไมตรีถึง 2 ครั้ง คือ
           พ.ศ. 2353 โปรดให้ราชทูตอันเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าเกียเข้งกรุงปักกิ่ง เพื่อให้จีนทราบว่าไทยเปลี่ยนแผ่นดินใหม่
           พ.ศ. 2364 โปรดให้อัญเชิญพระราชสาส์น โดยมีพระยาสวัสดิสมุทร เป็นทูตไปแสดงความยินดีต่อพระเจ้าเตากวาง ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเกียเข้ง พร้อมคํานับพระศพด้วย
             การติดต่อกับโปรตุเกส
           พ.ศ. 2361 ประเทศโปรตุเกสแต่งตั้งให้ มร. คาร์ลอส มานูเอล ซิลเวียรา เป็นทูตถือสาส์นนําเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดให้เป็น หลวงอภัยวาณิช
             การติดต่อกับสหรัฐอเมริกา
           พ.ศ. 2364 กัปตันแฮน เป็นพ่อค้าชาวอเมริกันคนแรกได้ถวายปืนคาบศิลา 500 กระบอก จึงโปรดให้เป็น หลวงภักดีราช

             การติดต่อกับอังกฤษ
             พ.ศ. 2365 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษตั้งผู้สําเร็จราชการอินเดียคือ มาร์ควิส เฮสติงค์ ได้ส่งจอห์นครอว์เฟิด มาเจริญราชไมตรี ผลของการเจรจาไทยเห็นว่าอังกฤษเอาเปรียบทุกอย่างไทยเลย ไม่ติดต่อด้วย แต่ยังมีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต ฮันเตอร์ ยินยอมทําตามระเบียบของไทย และค้าขายเรื่อยมาจนได้โปรดให้เป็น หลวงอาวุธวิเศษ

              เสด็จสวรรคต
              เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้วเจ้าอนุวงศ์หมดความเกรงกลัว เริ่มแข็งเมืองและเป็นกบฎขึ้นในรัชกาลพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 คํ่า ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขณะนั้นทรงพระชนมายุ 58 พรรษา ทรงเสวยราชย์สมบัติ 16 ปี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 73 พระองค์

              พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๒
              เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ ฉิมพลี






วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง 

พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระนามเต็มว่า

" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
  ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนชาติอาชาว   
  ศรัยสมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์
  ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพาดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร
  โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

              ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
              คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
              คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )
              คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดรักษ์ )
              คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
              คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )

              เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
                   พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดิน      
                   พระเจ้าอุทุมพร
                   พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดิน
                   พระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม
                   พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี
                   พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรี
                   ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
                   พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้า
                   กรุงธนบุรี  ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
                   พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็นแม่ทัพไปตีเขมร
                   ครั้งที่ 2
                   พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเมื่อคราวเป็น
                   แม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
            พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปรามเสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มีพระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบางยี่เรือ พระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มีการมหรสพ
           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และปราบดาภิเษกเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ( วันพฤหัสบดี ขึ้น 4 คํ่า ปีขาล ) ขณะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติทรงมีพระชนมายุได้ 45 ปี ทรงโปรดให้สถาปนาพระอนุชา ( เจ้าพระยาสุรสีห์ ) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท พระนัดดา ( พระยาสุริยอภัย ) เป็นกรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังหลัง ถัดจากนั้นได้ประกอบกิจการที่สําคัญคือ

             1.  สร้างกรุงเทพมหานคร
                  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 ( วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 คํ่า ปีขาล ) คือ ทําพิธียกเขาเอก " เสาหลักเมือง" กรุงเทพมหานครได้ลงมือก่อสร้างอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2326 ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า

 " กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธิ์ "
             
                 สาเหตุที่ย้ายราชธานีเพราะ
                       1. พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี มีวัดขนาบทั้งสองข้างไม่เหมาะแก่การที่จะขยายพระราชวัง
                           ออกไปได้อีก
                       2. ที่ตั้งพระราชวังเดิมอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยาเป็นที่ที่นํ้าเซาะ
                       3. กรุงเทพมหานครอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เป็นพื้นที่กว้างขวางเป็น
                           ชัยภูมิที่เหมาะแก่การป้องกันตัวเองจากข้าศึก

             2. การสร้างพระบรมมหาราชวัง
                 พ.ศ. 2326 สร้างพระนคร ได้สร้างพระราชมณเฑียรสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล
                 พ.ศ. 2327 สร้างพระมหาปราสาท สร้างวัดพระแก้ว และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากพระราชวังเดิมกรุงธนบุรีมาสถิตอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกับได้อัญเชิญพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทองกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยามาสร้างเป็นพระรูปหุ้มเงินปิดทองประดิษฐานไว้ในพระวิหารทรงพระราชทานนามวิหารแห่งนี้ว่า "หอพระเทพบิดร" ปฎิสังขรณ์วัดสลัก
                พ.ศ. 2328 หล่อปืนใหญ่ขึ้น 7 กระบอก สร้างวังให้พวกเจ้าเขมรที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ขุดคลองมหานาค ขุดคูเมือง สร้างป้อมเชิงเทินขึ้นมากมาย

             3. ฟื้นฟูพระราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
                 การปกครอง หลังจากปราบดาภิเษกแล้ว ทรงให้มีการตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบในราชการให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่น้อยตามฐานะทรงตั้งราชการวังหลวงขึ้น
                ด้านกฎหมาย ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง ( คือ ตราราชสีห์คชสีห์ บัวแก้ว ) เพื่อสําหรับวินิจฉัยอรรถคดี และบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย
                การค้าขายกับต่างประเทศ ผลประโยชน์ของประเทศไทยที่ได้รับขณะนั้นได้จากภาษีอากร เช่น อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรขนอนตลาด ภาษีค่านํ้าเก็บตามเครื่องมือ อีกทั้งส่วนสินค้าต่างๆ ที่ให้ผลประโยชน์มาก ก็คือการค้าสําเภาอันสืบเนื่องมากแต่สมัยกรุงธนบุรี การค้ากับต่างประเทศได้แก่ประเทศจีน ลังกา อินเดีย มลายู สิงคโปร์ มาเก๊า การสงคราม การสงครามกับพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง โดยพม่าได้แบ่งกองทัพเข้าโจมตีไทยหลายทาง คือ เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ด่านพระเจดีย์สามองค์ ชุมพร ไชยา และเมืองถลาง สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงปรึกษาการต่อสู้กองทัพพม่า แล้วโปรดฯ ให้แบ่งกองทัพเป็น 4 ทัพคือ
             กองทัพที่ 1 กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์เป็นแม่ทัพไปขัดตาทัพที่เมืองนครสวรรค์
             กองทัพที่ 2 กรมพระราชบวรสถานมงคล ไปตั้งรับที่เมืองกาญจนบุรี
             กองทัพที่ 3 เจ้าพระยาธรรมากับเจ้าพระยายมราชคอยคุมทางลัาเลียงติดต่อกองทัพ
             กองทัพที่ 4 เป็นกองทัพหลวง คอยช่วยศึกถ้าหากด้านใดเพลี้ยงพลํ้าก็จะยกไปช่วยทันที การสงครามครั้งนี้ พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีไทยทีละทัพ ก็ถูกไทยตีแตกไปทุกทัพด้วยหลักยุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า

             4. สงครามกับพม่า ( พม่าล้อมเมืองถลาง พ.ศ. 2328 )
                กองทัพพม่ายกมาตีตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งโดยทางเรือแล้วจึงข้ามไปตีเมืองถลางขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรม คุณหญิงจันทร์ (ภรรยาเจ้าเมือง) กับนางมุก (น้องสาวคุณหญิงจันทร์) เกณฑ์ไพร่พลชาวเมืองช่วยกันป้องกันเมืองถลาง ทัพพม่าไม่สามารถจะเอาเมืองถลาง สู้รบกันประมาณเดือนเศษพม่าขาดเสบียงอาหาร จึงเลิกทัพกลับไป เมื่อข่าวทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงแต่งตั้งให้คุณหญิงจันทร์เป็นท้าวเทพกษัตรีส่วนนางมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

             5. สงครามกับพม่า ( ศึกท่าดินแดง พ.ศ. 2329 )
                สงครามครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากสงครามครั้งที่พม่าล้อมเมืองถลาง พระเจ้าปดุงยกกองทัพเข้ามาทางด่วนเจดีย์สามองค์ด้านเดียว เนื่องจากพระเจ้าปดุงรู้สึกว่าพระองค์ดําเนินการแผนผิด เพราะตั้งแต่ทําสงครามมาไม่เคยแพ้ใครมาก่อนจึงพยายามที่จะตีไทยให้ได้ จึงรวบรวมกําลังผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเมาะตะมะ และให้พระมหาอุปราชคุมคน 5 หมื่นคน ตั้งมั่นอยู่ที่ตําบลสามสบ ท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรฯเป็นแม่ทัพหน้า และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นจอมทัพหลวงทัพทั้งสองเข้าตีพร้อมกัน พม่าทิ้งค่ายแตกหนีทุกค่าย กองทัพไทยไล่ฆ่าฟัน และจับเชลยได้เป็นอันมาก ได้ทั้งช้าง ม้า เสบียงอาหาร และอาวุธ ตลอดจนปืนใหญ่
           
             6.  สงครามกับพม่า ( ลําปางและป่าซาง พ.ศ. 2330 )
                 การที่พม่าแพ้ไทย ประเทศราชของพม่าก็เริ่มทําตัวกระด้างกระเดื่อง พม่าต้องใช้เวลาปราบ จากนั้นพม่าก็เลยมาตีเมืองป่าซางและลําปาง ซึ่งเป็นเขตไทยขณะที่ตีอยู่นั้น ข่าวทราบถึงกรุงเทพฯ ซึ่งกําลังเตรียมทัพจะไปตีเมืองทวายต้องเปลี่ยนแผน รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระราชวังบวรฯ ไปช่วยเมืองทั้งสองโดยให้คนที่อยู่ในตัวเมืองตีด้านในทหารที่ไปช่วยรบตีด้านนอก เสด็จจากสงครามครั้งนี้กรมพระราชวังบวรฯได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์

            7. ไทยตีเมืองทวาย พ.ศ. 2330
                 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงตั้งพระทัยจะตีเมืองทวาย โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท คุมพล 3 หมื่น ยกไปทางเหนือส่วนพระองค์เอง คุมพล 2 หมื่น โดยกระบวนเรือทางลํานํ้าไทรโยคขึ้นยกที่ท่าตะกั่ว ข้ามทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีความลําบาก หนทางกันดาร ทําให้คนในทัพเหนื่อยล้าอิดโรยจึงตีเมืองไม่ได้ ต้องเสด็จยกทัพกลับ ภายหลังต่อมาอีก 4 ปี เมืองทวายเมืองตะนาวศรี และเมืองมะริด ได้มาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย

             8.  การรบที่เมืองทวาย พ.ศ. 2336
                  รัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชดําริจะรบกับพม่าให้ได้ ได้ตั้งพระทัยใช้เมืองทวายเป็นฐานทัพและรวบรวมเสบียงอาหาร พระองค์ทรงยกทัพทางบก และโปรดให้กรม พระราชวังบวรฯบัญชาการทัพเรือแต่ว่าไปถึงเมืองทวายเมืองตะนาวศรีและเมือง
มะริด ชาวเมืองกลับไปเข้าข้างพม่า ขณะนั้นพม่าก็ยกกองทัพมาตีทวายกลับคืน ได้เกิดกบฎขึ้นในเมืองมะริดและเมืองทวาย กองทัพไทยจําต้องทําสงครามทั้งสองด้าน ไทยขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะอาศัยเมืองทั้งสามไม่ได้จึงต้องยกทัพกลับไป

             9.  พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2340
                  พม่ายกทัพมาคราวนี้ 7 ทัพ โดยมุ่งหมายจะตีลานนาไทยอีก รัชกาลที่ 1 โปรดให้กรมพระวังบวรฯ ทรงประชวรเป็นโรคนิ่ว จึงต้องหยุดประทับอยู่ที่นั่น ทรงโปรดให้กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระยาวังหลังติดตามเสด็จขึ้นไปช่วยทรง
บัญชาการรบจนมีชัยชนะทรงขับไล่พม่าออกจากแคว้นลานนาจนหมด
         
            10.  ศาสนา
                   พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอารามและได้ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทําสังคายนาสอบสวนพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง

           11. การติดต่อกับต่างประเทศเพื่อนบ้านการติดต่อกับญวน พ.ศ. 2325
                   กษัตริย์ประเทศญวนขณะนั้นก็คือ องเชียงสือ ได้ลี้ภัยจากพวกกบฎแห่งเมืองไกเชิงได้พามารดาเข้ามาอยู่ในเมืองไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอุปถัมภ์ไว้ และทรงช่วยเหลือเสบียงอาหารและสนับสนุนพร้อมทั้ง
อาวุธยุทธภัณฑ์ต่อมาองค์เชียงสือได้เข้าไปปราบปรามกู้บ้านเมืองได้และตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้ายาลอง"
            
           12. การติดต่อกับจีน ติดต่อในฐานะการค้า การติดต่อกับเขมร
                  นักองเองมกุฎราชกุมารแห่งประเทศเขมรยังทรงอ่อนวัย พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช ( แบน ) เป็นผู้สําเร็จราชการประเทศเขมรทรงชุบเลี้ยงอย่างพระราชบุตรบุญธรรมจนเวลาผ่านไปได้ 12 ปี จึงได้กลับไปครอง ประเทศเขมร ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี " และโปรดให้พระยายมราช เป็นพระยาอภัยภูเบศร์ครองเมืองพระตะบองขึ้นกับไทย ผู้นี้เป็นต้นตระกูล "อภัยวงศ์ "
          
           13. การติดต่อกับประเทศตะวันตก
                         ประเทศโปรตุเกส
                                    เป็นชาติแรกที่มาติดต่อกับไทยเมื่อ พ.ศ. 2329 องตนวีเสนได้อัญเชิญพระราชสาส์นเข้ามาเจริญพระราชไมตรี รัชกาลที่ 1 โปรดให้จัดการต้อนรับอย่างสมเกียรติ
                        ประเทศอังกฤษ
                                    มีอิทธิพลทางใต้ของไทยและฟรานซิสไลท์ คนอังกฤษได้เพียรขอเฝ้ารัชกาลที่ 1 ทูลเกล้าถวายดาบที่ประดับพลอยกับปืนด้ามเงินกระบอกหนึ่ง ต่อมาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระยาราชกัปตัน

           14. พระราชนิพนธ์ งานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1
                  - กลอนนิราศท่าดินแดง
                  - กลอนบทละครเรื่องอิเหนา
                  - กลอนบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ต่อจากสมัยกรุงธนบุรี
                  - กลอนบทละครเรื่อง อุณรุธ
                  - กฎหมายตราสามดวง
         
 เสด็จสวรรคต
             พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครองราชสมบัติได้ 27 ปีเศษ ตั้งแต่ทรงมีพระชนมายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ขณะนั้นทรงพระชนมายุได้ 74 พรรษา พระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑
             เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๘

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king1.htm


ราชวงศ์จักรี (Royal Family)


            ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์"

ที่มาของชื่อและสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรี

     ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุงธนบุรี คำว่า "จักรี" นี้พ้องเสียงกับคำว่า "จักร" และ "ตรี" ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน

พระปฐมบรมมหาชนกแห่งราชวงศ์จักรี - พระมหาชนกพระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี

              สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก "จะกล่าวถึงเจ้านายจำพวกซึ่งเป็นปฐมเป็นต้นแซ่ต้นสกุลเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์แลเจ้าราชินิกุลที่เรียกนามว่า คุณ ว่า หม่อม มีบรรดาศักดิ์เนื่องในพระบรมราชวงศ์นี้ ซึ่งบัดนี้เป็นจำพวกต่างๆอยู่ จะให้รู้แจ้งว่าเนื่องมาแต่ท่านผู้ใด พระองค์ใด เป็นเดิมแต่แรกตั้งกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยานี้มา พึงรู้โดยสังเขปว่าบุรุษนารีมีบรรดาศักดิ์ ซึ่งเรียกว่าเป็นจำพวกเจ้า คือเจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ทั้งปวงนั้น ล้วนปฏิพัทธ์พัวพันสืบต่อลงมาแต่องค์สมเด็จพระมหาไปยกาธิบดี คือ องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระเจ้าหลวงของพระบาทสมเด็จพระปรโมรุถชามหาจักรีบรมนาถ ซึ่งปรากฏพระนามในบัดนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นปฐมบรมอัครมหาราชาธิราชในพระบรมมหาราชวัง"

พระบรมวงศานุวงศ์

              พระบรมวงศานุวงศ์ไทยในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นราชสกุลมหิดลกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สังวาลย์ ตะละภัฏ) โดยสมเด็จพระบรมราชชนกนั้นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ถือเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
             หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็นพระอนุชาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น และภายหลังได้อภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์)