วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



แผนผังราชวงศ์จักรี






รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ( สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล " พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
             พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
             ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์ และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว โดยไม่ถือพระองค์

การศึกษา

             พระองค์ทรงศึกษาภาษาไทยเบื้องต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอีก่อน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อสําเร็จการศึกษาเบื้องต้นแล้ว จึงได้เข้าศึกษาต่อแผนวิทยาศาสตร์พร้อมกับพระเชษฐาธิราชซึ่งกําลังศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์อยู่ก่อนแล้ว ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ทรงประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชาวต่างประเทศได้ชนรถพระที่นั่ง เกือบทําให้พระองค์ต้องเสียพระจักษุ แพทย์ต้องถวายการรักษาจนหายเป็นปกติ พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพบสตรีผู้สูงศักดิ์ และได้เป็นคู่บารมีของพระองค์เองในปัจจุบัน
             สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ( ม.จ. นักขัตมงคล กิติยากร ) และ ม.ล. บัว กิติยากร สมเด็จฯ มีพระนามเดิมว่า ม.ร.ว. สิริกิตติ์ กิติยากร เมื่อพระชันษา 5 ปี เรียนที่โรงเรียนราชินีล่าง ต่อมาย้ายไปเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์สามเสนทรงสนใจดนตรีมาก
             สมเด็จฯ ประสูติ ณ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า "สิริกิตติ์" เพราะดวงชะตากําหนดศุกร์เดียวกันกับสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ขณะที่ในหลวงทรงประสบอุปัทวเหตุและมี ม.ร.ว. สิริกิตติ์ ซึ่งพระบิดาเป็นเอกอัครราชทูตประจําอยู่สํานักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ แต่ได้มาอยู่สวิสชั่วคราวได้เข้าถวายการพยาบาลด้วย เป็นที่พอพระราชหฤทัยองค์ในหลวงเป็นที่ยิ่ง หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสําเร็จการศึกษา พระองค์ได้เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีราชาภิเษก สมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 นับแต่ทรงชาราภิเษกสมรสแล้ว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ
                1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
                    ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
                2. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
                    ประสูติ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
                3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                    ประสูติวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
                4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
                    ประสูติวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชตามโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อทรงผนวชแล้วได้ประทับที่ ณ พระตําหนักเพชรวัดบวรนิเวศ
              ก่อนเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ดํารงตําแหน่งเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์และเนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้า เคยดํารงตําแหน่งสุงสุด จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินาถ"

พระราชกรณียกิจ

  • พระราชทานกําเนิดมูลนิธิประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูถัมภ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2506
  • ด้านสาธารณสุข จัดตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูถัมภ์
  • ด้านเกษตร
            1. การฟื้นฟูและปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัล ( แรกนาขวัญ ) และได้มีพระราชดําริจัดทํา " พันธ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทาน "
            2. งานวิศวกรรมการเกษตร โดยทรงมีพระราขดําริที่นําเอากรรมวิธีทําฝนเทียมมาแก้ไขปัญหาขาดแคลนนํ้า เพื่อการเกษตร และบริโภค ในท้องถิ่นทุรกันดาร
พระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดสร้างโรงงานทํานมผงในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อพ.ศ. 2512 และได้ให้เจ้าหน้าที่กระทรวงเกาตรสร้างโรงสีขนาดเล็กที่นักวิชาการของกระทรวงเกษตรได้วิจัยประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ระบบแรงเหวี่ยง
            3. งานวิจัยค้นคว้าทางเกษตร ใช้ชาวเขารู้จักใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยให้ทดลองปลูกพืชหลายชนิดมีผลไม้ พันธุ์ฟัก และพันธุ์ไม้ดอก
            4. การประมง ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประมงนําพันธุ์ปลาหมอเทศไปเลี่ยงในบ่อบริเวณสวนจิตรลดาพระราชวังสวนดุสิต ในปีพ.ศ. 2495 และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 เจ้าฟ้าอากิฮิโต มงกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้จัดส่งลูกปลานิลมาถวาย เมื่อทรงเลี้ยงพันธุ์ปลานิลประสบผลสําเร็จ โปรดฯ ให้กรมประมงจ่ายลูกปลานิลแก่ราษฎรนําไปเพาะเลี้ยงตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2510
 และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เป็้นวันเฉลิมพระชนมพรรษา รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยได้ถวายพระเกียรติให้พระองค์เป็น " สมเด็จพระภัทรมหาราช "

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๙

              เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร มีอักษร อุ หรือเลข ๙ อยู่กลางวงจักร รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ มีรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อยู่เหนือจักร ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ หมายถึง
ทรงมีพระบรมเดชา นุภาพในแผ่นดิน
 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king9.htm






รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี


รัชกาลที่ ๘

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ
            1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
            2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช

            พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต
            พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต
            พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
            พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์ และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
            พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น
            พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ

ประเทศไทยเข้าสู่สงครามอินโดจีนในปี พ.ศ. 2483

             รัฐบาลไทย ซึ่งขณะนั้น นายพลตรีพิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า เราควรจะเรียกร้องเอาดินแดนคืนมาจากฝรั่งเศส ขณะนั้นฝรั่งเศสกําลังทําสงครามกับเยอรมัน ประชาชนไทยพากันเดินขบวนเรียกร้องเอาดินแดนคืนเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2483
             พ.ศ. 2483 สงครามไทยกับฝรั่งเศสจึงเกิดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน กองทัพฝรั่งเศสในอินโดจีน แตกพ่ายยับเยินในที่สุดสงครามอินโดจีนก็ยุติลงด้วยการไกล่เกลี่ยของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2484 ได้มีการประชุมตกลงกันที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 ฝรั่งเศสยอมคืนดินแดนให้ไทย คือด้านหลวงพระบางฝั่งขวาของแม่นํ้าโขง ที่นครจําปาศักดิ์ กับท่าสามเหลี่ยมฝั่งขวา มีอาณาเขตทางด้านมณฑลบูรพาบางส่วนมีเมืองศรีโสภณ มงคลบุรี และพระตะบอง
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นส่งทหารเข้ามาบีบบังคับไทยเข้าร่วมทําสงครามมหาเอเซียบูรพากับญี่ปุ่น

เสด็จสวรรคต

             พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในบริเวณพระบรมมหาราชวัง วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา พระองค์ท่านเสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน สิริพระชนมายุ 20 พรรษา 8 เดือน 20 วัน ทรงดํารงอยู่ในราชสมบัติ 12 ปี เป็นการสูญเสียครั้งสําคัญของไทยครั้งหนึ่ง

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๘

             เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับ บนบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อย อยู่เหนือบัวบานอันหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว อยู่ด้านหลังแถบรัศมี มีฉัตรอยู่สองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" แปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุข แด่ประชาราษฎรทั้งปวง

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king8.htm


รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี


รัชกาลที่ ๗

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

พระราชประวัติ

              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับว่าเป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด ประสูติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิการยน พ.ศ. 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 14 คํ่า เดือน 11 ปีมะเส็ง ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา "
              เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์ และผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2

การขึ้นครองราชย์

              เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดแต่งตั้งสภาอิรัฐมนตรีขึ้นให้มีหน้าที่ให้คําปรึกษาราชการและบริหารการเมือง โปรดให้ร่วมการศึกษาวิทยุคมนาคมกับต่างประเทศ พระองค์เริ่มจัดงบประมาณของประเทศขึ้นเพราะขณะนั้นได้เกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก พระองค์เริ่มต้นตัดทอนงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกเหตุการณ์นี้เป็นมูลเหตุของการปฎิวัติใน ปีพ.ศ. 2475 ประองค์ทรงตัดทอนรายจ่ายของพระองค์เอง ข้าราชการที่รับราชการที่จนล้นงานก็ให้ออกจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นจํานวนมาก

 ศิลปวัฒนธรรมประเพณีแลการปกครอง

  • การแต่งกาย พ.ศ. 2475 มาแล้ว ผู้ชายไทยนิยมนุ่งกางเกงขายาว
  • การเลิกประเพณี ทรงให้เลิกพิธีศรีสัจปานกาล
  • ศิลปทางด้านปฎิมากรรมชั้นเยี่ยม ได้แก่ ปฎมบรมราชานุสรณ์
  • การศึกษา พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนวิชาวิทยาศาสตร์คณะราษฎร เมื่อทําการปฎิวัติเสร็จ ได้มีการประกาศแผนการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2475 มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมืองตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2477

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

             หลังจากที่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตยขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยบุคคลคณะหนึ่งซึ่งชื่อว่า "คณะราษฎร" มีพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกเป็นผู้ก่อการยึดอํานาจการปกครองประเทศซึ่งพระองค์ก็ยอมรับรองอํานาจของคณะราษฎร ที่จะจํากัดพระราชอภิสิทธิของพระองค์ โดยคณะราษฎรได้ให้คํามั่นสัญญาแก่ประชาชนชาวไทยว่าจะแก้ไขภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกตํ่าให้ดีขึ้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2476 ได้เกิดกบฎวรเดชขึ้น รัฐบาลแห่งคณะราษฎรได้ทําการปราบปรามจนสําเร็จ

เสด็จสวรรคต

             เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ตัดสินพระทัย สละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ด้วยโรคพระหทัยพิการ ณ ประเทศอังกฤษ พระราชหัตถเลขา ที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามีความเต็มใจ ที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ ยินยอมยกอำนาจทั้งหลาย ของ ข้าพเจ้าให้ แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจ โดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียง อันแท้จริงของ ประชาราษฎร" พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๗

              เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาต และพระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้น ตอนบนของดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย "ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king7.htm



รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๖


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

พระราชประวัติ

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

ทางด้านการศึกษาของพระองค์

             พระองค์ทรงได้รับการศึกษาการอบรมอย่างดียิ่งสมกับที่เป็นองค์รัชทายาทพระองคืทรงได้รับการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จากสมเด็จพระราชบิดาและนานาอาจารย์ผู้สันทัดแต่ละวิชาการ เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ตรงกับพ.ศ. 2436 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาได้โปรดให้พระองค์ออกไปศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรปที่โรงเรียนทหารบก แซนต์ เชิสต์ ( พ.ศ. 2441 - พ.ศ. 2442 ) ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นราชอุปัชฌายะ เสด็จประทับจําพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

การปกครอง และการเปลี่ยนแปลง

             ด้านการปกครอง ทรงปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับประชาชน ทรงสร้างดุสิตธานีเป็นที่ทดลองการปกครองแผนใหม่ ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ทรงประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
             พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารเข้าประจําการ
             พ.ศ. 2460 ให้เลิกโรงหวย ก.ข. โรงบ่อนการพนันต่างๆ ธงชาติให้เลิกเครื่องหมายเดิม เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
             โปรดให้หนังสือพิมพ์เอกชนออกแสดงความคิดเห็นได้ การเปลี่ยนแปลงการใช้ วัน เดือน ปี เช่น วันขึ้นปีใหม่ ให้นับเอา 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้เลิกใช้จุลศักราชรัตนโกสินทรศก ให้ใช้พุทธศักราชแทน
             พ.ศ. 2453  ทรงจัดตั้งกองเสือป่า
             พ.ศ. 2454 โปรดให้ตราข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการปกครองลูกเสือขึ้น

             การศึกษา ทรงโปรดยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ภายหลังให้ยกโรงเรียนนี้เป็นจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย เริ่มต้นฝึกหัดครูชายและหญิง และโปรดให้หัวเมืองต่างๆ มีการศึกษาถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์
             พ.ศ. 2461 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์
             พ.ศ. 2464 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา

             ศาสนา พระองค์ทรงได้ทํานุบํารุงทางวัด แล้วยังให้พระภิกษุได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง พระองค์ทรงสั่งสอนข้าราชการในเรื่องศาสนาด้วยพระองค์เอง และพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร

             การคมนาคม ได้โปรดให้ขยายทางรถไฟสายใต้ไปจนติดต่อกับทางรถไฟสายมลายูของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2464 และขยายทางรถไฟสายเหนือ ถึงเชียงใหม่ ทางรถไฟสายตะวันออกถึงกบินทร์บุรี พร้อมกับทรงโปรดให้เชื่อมทางรถไฟสายต่างๆ ไว้ที่สถานีกรุงเทพฯเป็นชุมทางแห่งเดียว และได้โปรดให้สร้างสะพานพระราม 6 ขึ้น เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้ให้ถึงสถานีกรุงเทพฯ
            การสาธารณสุข พ.ศ. 2454 ทรงตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
การกบฎกับการสงคราม กบฎ ร.ศ. 130 ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน ได้ร่วมกันคิดที่จะทําการปฎิวัติ เมื่อ ร.ศ. 130 ตรงกับ พ.ศ. 2454 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย หัวหน้าที่เป็น นายทหารผู้ใหญ่มียศอย่างสูงคือ พันตรีหลวงพิฆเนศวร์ประสิทธิรักษ์ ความคิกของพวกก่อกบฎแบ่งเป็น 2 พวก

             1. ต้องการจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ คือ มีประธนาธิบดีเป็นประมุข
             2. ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิประไตยโดยจะทําการใน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455
ซึ่งเป็นวันถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา แต่ยังไม่กระทําการ ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึง พันเอกหม่อมเจ้าพันธุประวัติ เจ้ากรมช่างแสงได้ทรงทราบเรื่องราวรายละเอียดทั้งหมดจึงได้ทําการจับกุม พวกที่ถูกประหาร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลดลงเป็นจําคุกตลอดชีวิต

ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

             เป็นการรบกันระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี และอีกฝ่ายหนึ่งมี อเมริกา เบลเยี่ยม อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ฝ่ายนี้เรียกว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตัดสินพระทัยส่งทหารไปช่วยฝ่ายส้มพันธมิตร

             สาเหตุที่พระองค์ส่งทหารไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตร
     1. เยอรมัน ทําลายความเป็นกลางของเบลเยี่ยม ซึ่งเท่ากับละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
     2. เยอรมันด้อยกว่าพันธมิตรทุกอย่าง
     3. เพื่อจะได้เผยแพร่เกียรติคุณของชาติไทย ให้นานาประเทศรู้จักชาติไทย
     4. เพื่อขจัดปัญหาสนธิสัญญาต่างๆ ที่นานาชาติพยายามผูกมัดไทย และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงส่งทหารเข้าสู่สงคราม

ประโยชน์ของไทยที่ได้รับจากผลของสงคราม

           1. ทําให้ทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และพร้อมกันนั้น ชาติไทยก็ได้รับเกียรติยกย่องให้เท่าเทียมกับอารยประเทศ
           2. ความไม่เสมอภาคกับนานาประเทศ ที่เคยมีอยู่กับไทยก็ค่อยๆลดน้อยลง โดยความช่วยเหลือของ ดร. ฟรานซิสบีแซร์ บุตรเขยของประธานาธิบดีวิลสัน ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยากัลยาณไมตรี
           3. ไทยได้ยกเลิกสัญญาเก่าๆ ที่เคยทําไว้กับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี เช่นเดียวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตก็เป็นอันยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
           4. ไทยตั้งพิกัดอัตราภาษีสินค้าขาเข้าได้โดยเสรีนอกจากบางอย่าง ซึ่งได้ทําไว้กับอังกฤษ อิตาลี เป็นสนธิสัญญาพิเศษ
          5. เมื่อหมดอายุสัญญาแล้ว ไทยก็ได้ความเสมอภาคเท่าเทียมกับนานาประเทศโดยสมบูรณ์
          6. ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตชาติ

วรรณคดีและกวี

             พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่นํามาใช้เป็นแบบเรียนมี
                     1. มงคลสูตร
                     2. พระนลคําหลวง
                     3. ธรรมาธรรมะสงคราม
                     4. มัทธะพาธา
                     5. สาวิตรี
                     6. ตามใจท่าน

เสด็จสวรรคต

             พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 จนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2468 เริ่มประชวรด้วยโรคลําไส้และโลหิตเป็นพิษ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระอาการประชวรก็กําเริบมากขึ้น จนเวลา 13.45 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก็เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิ์พิมาน ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี มีพระราชธิดาองค์เดียวทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ

 พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๖

             เป็นรูปวชิราวุธ ยอดมีรัศมี ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ซึ่งตั่งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรกลีบ บัวตั้งอยู่สองข้างเป็นสัญลักษณ์ พระบรมนามาภิไธย "วชิราวุธ" หมายถึง อาวุธของพระอินทร

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว





รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ 2 ข้อ

                1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
                2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

             การปกครอง พ.ศ. 2446 มีพระราชบัญญัติ ลักษณะเกณฑ์ทหารการปกครองฝ่ายทหาร และพลเรือน จึงแยกจากกันโดยสาเหตุ
                1. กรมต่างๆ ทํางานไม่เท่ากัน
                2. เกิดมีช่องทางทุจริตให้พนักงานในกรมบางกรม
                3. อํานาจของเสนาบดีแต่ละกรม เลื่อนไปจากเดิม
                4. หน้าที่ฝ่ายกรมต่างๆ ทางทหารและพลเรือนปนกันยุ่งมาก
                5. เสนาบดีมีเกียรติไม่เสมอกัน เพราะงานเป็นต้นเหตุ
             ประกอบกับพระองค์ได้รับรายงานแบบแผนการจัดคณะเสนาบดี จากสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์โรปการ ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ที่ยุโรป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกําหนดให้คณะเสนาบดี จัดเป็นกระทรวงเดิม มี 12 กระทรวง แก้ไขจนเหลือ 10 กระทรวง คือ
                1. กระทรวงมหาดไทย
                2. กระทรวงกลาโหม
                3. กระทรวงการต่างประเทศ
                4. กระทรวงนครบาล
                5. กระทรวงวัง
                6. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
                7. กระทรวงเกษตรพานิชการ
                8. กระทรวงธรรมการ
                9. กระทรวงโยธาธิการ
              10. กระทรวงยุติธรรม

การบริหารงานส่วนภูมิภาค

             การปกครองมณฑลได้วางระเบียบการปกครองแบบลักษณะเทศาเทศาภิบาลขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2437 - 2439 มณฑลทั้ง 6 นี้ จึงเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะมณฑลเทศาภิบาลด้วยการปกครองแบบนี้ มีผู้บัญชาการมณฑลเป็นผู้บริหารงานในมณฑลนั้นๆ ตามนโยบายของเสนาบดี ตําแหน่งหน้าที่ราชการ มีการให้เงินเดือนสร้างบ้านพักหลวงให้อยู่อาศัย งดการกินเมืองแบบเก่าๆ

การเลิกทาส

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าทาสมักจะถูกนายเงินกดขี่ข่มเหง ต้องทํางานอาบเหงื่อต่างนํ้า ทาสบางคนที่ไม่ทําตามคัาสั่งจะถูกลงโทษอย่างทารุณ ถึงเลือดตกยางออก แม้จะทําผิดเพียงเล็กๆน้อยๆ พระองค์ทรงพระเมตตาต่อมนุษย์ ด้วยทรงเห็นว่าไม่ยุติธรรม ยังทรงมีพระราชดําริด้วยว่า การมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของชาติการเลิกทาส พระพุทธเจ้าหลวงทรงเห็นว่าควรลดจํานวนทาสลงจึงทรงตราพระราชบัญญัติลดทาส เมื่อ พ.ศ. 2411 จนกระทั่ง พ.ศ. 2448 จึงมีพระราชบัญญัติเลิกทาส ทาสที่ปรากฎในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอยู่ 7 พวกคือ

          1. ทาสสินไถ่ คือ ทาสที่ขายตังเองหรือถูกคนอื่นขายให้แก่นายเงิน ต้องทํางานจนกว่าจะหาเงินมาใช้แทนเงินราคาขาย จึงจะหลุดเป็นไท
          2. ทาสในเรือนเบี้ย คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อแม่ในขณะเป็นทาสนายเงินอยู่ ลูกที่ออกมาก็ตกเป็นทาสไปด้วย
          3. ทาสได้มาแต่บิดามารดร คือ ลูกทาสที่เกิดจากพ่อ หรือ แม่ที่เป็นทาส
          4. ทาสท่านให้ คือ ทาสของคนอื่นที่ยกให้กับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งมีค่าเหมือนยกสิ่งของเปลี่ยนมือกัน
          5. ทาสที่ช่วยมาจากโทษทัณฑ์ คือ ทาสที่ถูกคดีความ พอช่วยให้พ้นโทษแล้วก็เอามาใช้เป็นทาส
          6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย คือ ทาสที่ได้มาจากคนที่ถูกภัยธรรมชาติหมดตัว ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ยามข้าวยากหมากแพง
          7. ทาสเชลย คือ ทาสที่แม่ทัพนายกองได้มาจากส่วนแบ่งเชลยจากการออกรบสงคราม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดําเนินนโยบายด้วยพระปรีชาญาณอย่างสุขุมรอบคอบ ทรงดําเนินงานเพื่อเลิกทาสด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2448 ทรงเลิกทาสแต่ละจําพวกด้วยวิธีการต่างๆคือ
  • ทาสเชลย ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระได้เมื่อมีอายุ 60 ปี
  • ทาสนํ้าเงิน ให้หมดค่าตัวเมื่ออายุ 60 ปี เช่นเดียวกับทาสเชลย
             เมื่อคราวเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อ พ.ศ. 2420 พระองค์ทรงมีพระชนม์ได้ 24 ชันษา ซึ่งนับจํานวนวันได้ 8.766 วัน ( ปีละ 365 วัน 24 ครั้ง กับวันที่ 29 กุมภาพันธ์ อีก 6 ครั้ง ) ทรงบริจาคพระราชทรัพย์จํานวน 8.767 บาท ไถ่ถอนทาสได้ 44 คน ทาสทั้ง 44 คน ที่ได้รับการไถ่ถอนนั้น ทรงกําหนดให้เป็นพวกที่อยู่กับนายเงินรายเดียวมาไม่ตํ่ากว่า 25 ปี เพราะทรงพระราชดําริว่า " พวกเขาคงเป็นคนดีมากกว่าคนชั่ว นายเงินคนเดิมจึงยังคงเก็บตัวพวกเขาไว้เป้นสมบัติของตนไม่ขายต่อให้พ้นๆไปเสีย"
             พ.ศ. 2417 ได้ออกพระราชบัญญัติลูกทาส หญิงชายเกิดตั้งแต่ ปีมะโรงอายุ 21 ปี ให้หลุดเป็นไทแก่ตน ลูกที่พ่อแม่จะขายให้ไปเป็นทาสต้องมีอายุไม่ตํ่ากว่า 15 ปี และลูกต้องยินยอมตามกรมธรรม์ด้วย
             พ.ศ. 2448 ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร ห้ามการซื้อขายทาส และบรรดาลูกทาสก็ให้ปลดปล่อยเป็นไทให้หมด พวกที่เป็นทาสเก่าให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนหมดค่าตัว

             การออกกฎหมาย ได้อาศัยพวกลูกขุนช่วยเหลือพวกลูกขุน มี 2 พวก คือ
                       1. ลูกขุน ณ ศาลาได้แก่พวกข้าราชการและเสนาบดี
                       2. ลูกขุน ณ ศาลหลวงได้แก่ ผู้พิพากษาคดี มาเลิกใช้ใน พ.ศ. 2416 หลังจากที่พระองค์ทรงกลับจากประพาสอินเดีย พระองค์ได้นําเอาแบบการมีสภาของอินเดียมาใช้ พ.ศ. 2417 จึงโปรดให้ตั้งมนตรีสภาขึ้นสองสภา คือ รัฐมนตรีสภา กับ องคมนตรีสภา

การแก้ไขขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

             ที่สําคัญคือการตัดผมชาย ให้ใช้แบบสากลเลิกทรงผมมหาดไทย หญิงไว้ผมยาว เครื่องแบบทหารก็เปลี่ยนแบบฝรั่ง เครื่องแบบข้าราชการพลเรือนเต็มยศ ใช้เสื้อแพรสีกรมท่าปักทองมีขอบคอและขอบข้อมือ ส่วนเวลาปรกติใช้เสื้อปิดคอ มีผ้าผูกคออย่างฝรั่ง ผ้านุ่งใช้ผ้าม่วงทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ต่อมาภายหลัง เสื้อให้ใช้เปลี่ยนเป็นเสื้อคอปิด นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึง พ.ศ. 2475

การทหาร

             พระองค์ได้ทางเร่งรัดการปฎิรูปทางการทหาร ให้ทันสมัยเลียนแบบยุโรปได้ส่งราชโอรสไปศึกษาวิชาทหาร ณ ยุโรป ปรับปรุงยุทธวิธีทางทหาร ยุบตั้งกรมกองต่างๆ เพิ่มขึ้น รวม 9 กรม กรมทหารบก 7 กรมทหารเรือ 2 กรม

             พ.ศ. 2430 ได้ตราพระราชบัญญัติ ทหารขึ้นรวมกรมทหารเรือ เป็นกรมยุทธนาธิการตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกขึ้น
             พ.ศ. 2345 ตั้งกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บัญชาการรบทางทหารทั่วไป

การสงคราม

              ปราบฮ่อครั้งที่ 1
              ฮ่อคือพวกจีนกบฎไทเผ็งของจีน การปราบฮ่อครั้งที่ 1 เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2418 ได้โปรดให้พระยามหาอํามาตย์เป้นทัพที่ 1 เจ้าพระยาพิชัยเป็นทัพที่ 2 เจ้าพระยาภูธรภัยเป็นทัพที่ 3 ตีพวกฮ่อแตกหนีไปจากชายแดนไทย

             ปราบฮ่อครั้งที่ 2
             เมื่อ พ.ศ. 2421 โปรดให้กองทัพเมืองทางเหนือไปก่อน ภายหลังให้เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิราช ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาวัชรานุกูลเป็นทัพหนุน แต่ปราบพวกฮ่อไม่สําเร็จ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชถูกกระสุนปืนของพวกฮ่อต้องถอยทัพกลับคืน

             ปราบฮ่อครั้งที่ 3
             เมื่อ พ.ศ. 2428 โปรดให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งขณะนั้นยังเป็นกรมหมื่นทัพที่ 1 เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งขณะนั้นเป็นหมื่นไวยยวรนารถ เป็นแม่ทัพยกไปทางเมืองหลวงพระบางเป้นทัพที่ 2 การรบครั้งนี้ พวกฮ่ออ่อนน้อมต่อไทย
            ปราบฮ่อครั้งที่ 4
            พวกฮ่อเผาเมืองหลวงพระบาง ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกกองทัพไปปราบจนพวกฮ่อแตกหนีไป

            การเสียแว่นแคว้นลาวแก่ฝรั่งเศส
             หลังจากปราบฮ่อแล้วฝรั่งเศสได้ส่งทหารเข้ายึดหัวเมืองสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก ไทยจะเจรจาอย่างไร ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารออกไป ผลที่สุดไทยก็ต้องยอมยกให้ฝั่งเศสไปโดยปริยายและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เดียนเบียนฟู"
             พ.ศ. 2435 ฝรั่งเศส พยายามเรียกร้องเอาดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่นํ้าโขงจากไทย แต่ไทยไม่ยอมให้ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้รวบรวมเอาทหารญวนบุกรุกเข้ามาในเขตแดนฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขงของไทย แต่ไทยไม่ยอมในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดปากอ่าว และส่งทหารเข้ายึดเกาะสีชัง ไทยมีกําลังไม่พอจึงยอมปฎิบัติตามคําเรียกร้องของฝรั่งเศส
             พ.ศ. 2449 ไทยต้องทําสัญญาอีกฉบับ ยกเขมรส่วนในมีเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปจนจดเกาะกูด
             พ.ศ. 2452 อังกฤษเริ่มเข้ามารุกรานไทยเพราะอังกฤษเห็นฝรั่งเศสบีบไทยได้อังกฤษจึงทําบ้าง ซึ่งครั้งนี้ไทยต้องเสียกลันตัน ตรังกานู ปลิส และเกาะใกล้เคียงให้กลับอังกฤษ
             พ.ศ. 2434 พระเจ้าชาร์ นิโคลาส ที่ 2 แห่งประเทศรัสเซียได้เสด็จมาประพาสประเทศไทย เป็นการต้อนรับที่เต็มไปด้วยไมตรี
             พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

ศาสนา

          พ.ศ. 2431 พระองค์ได้ทรงอาราธนา พระราชาคณะให้มาช่วยชําระคัมภีร์พระไตรปิฎกให้เป็นที่เรียบร้อย
          พ.ศ. 2441 ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีผู้พบพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าอุปราชอินเดียมาควิสเตอร์ซัน ได้จัดชิงพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย
          พ.ศ. 2445 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครอง คณะสงฆ์เพื่อที่จะได้จัดสังฆมณฑลให้เป็นที่เรียบร้อย แบ่งคณะมหาเถระสมาคมออกเป็น 4 คณะใหญ่ด้วยกันคือ คณะกลาง คณะเหนือ คณะใต้ และคณะธรรมยุติกนิกาย
          พ.ศ. 2435 จัดตั้งระเบียบการศึกษาพระศาสนาให้มีสนามสอบไล่ พระปริยัติธรรม ได้โปรดให้ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเพื่อควบคุม

             โปรดให้สร้างวัดต่างๆขึ้นมาหลายวัด เช่น วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วักราชบพิธ วัดจุฑาธรรม วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงจําลองพระพุทธชินราชมาจากพิษณุโลก มาประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร รวบรวมพระพุทธรู)ที่ตกค้างมาประดิษฐไว้นอบระเบียงวัดเบญจมบพิตร ตั้งมหาธาตุวิทยาลัย

การศึกษา

            โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และได้โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) เป็นอาจารย์ใหญ่
             พ.ศ. 2424 โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดผู้ที่ต่อไปจะทําหน้าที่นายร้อยนายสิบ
             พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก
             พ.ศ. 2430 จัดตั้งกรมศึกษาธิการ
             พ.ศ. 2435 โปรดให้ตั้งกระทรวงกรรมการ เป็นกระทรวงเสนาบดี และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เดี๋ยวนี้โดยมีครูเป็นชาวอังกฤษ
             พ.ศ. 2439 โปรดให้มีการสอบคัดเลือกนักเรียนส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ 6 คน
             พ.ศ. 2440 ให้มีการสอบชิงทุนขึ้นเป็นครั้งแรก
             พ.ศ. 2444 ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยกรรมสิทธิ์ของผู้แต่งหนังสือ ออกประกาศใช้บังคับ
             พ.ศ. 2445 ส่งข้าหลวงไปดูงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น
             พ.ศ. 2447 ได้โปรดให้รวมหอสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอพระพุทธสังคหะ รวมกันตั้งเป็นหอสมุดแห่งชาติ

สวรรคต

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครองราชสมบัตินานถึง 42 ปี เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ( ตรงกับวันอาทิตย์ ) พระองค์ทรงมีพระสมมัญนามอีกสองอย่างคือ พระพุทธเจ้าหลวง และพระปิยะมหาราช มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 77 พระองค์ ประสูติก่อนราชาภิเษก 2 พระองค์ หลังราชาภิเษกแล้ว 75 พระองค์ เมื่อหลังจากสวรรคตแล้ว พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยุพราชได้ชักชวนประชาชนร่วมกันบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้าไว้เพื่อเป็นอนุสาวรีย์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๕

           เป็นรูปพระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย "จุฬาลงกรณ์" มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king5.htm




รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี

รัชกาลที่ ๔

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

             การปกครอง ในรัชกาลนี้ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเฉพาะในด้านประเพณีที่มีมาแต่เดิมๆ อย่างเช่น ปรับปรุงประเพณีการเข้าเฝ้า มีพระบรมราชโองการให้ทุกคนสวมเสื้อเข้าเฝ้า โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด และถวายฎีการ้องทุกข์ทุกวันโกนเดือนละ 4 ครั้ง โดยพระองค์ท่านจะเสด็จออกมารับการร้องทุกข์นั้น
             กฎหมาย มีกฎหมายที่ออกในรัชกาลนี้มาก มีทั้งกฎหมายอาญาหลวง และมีประกาศเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของประชาชน
             ศาล ยังมิได้มีการรวบรวมเป็นกระทรวงเดียวกัน แต่โปรดให้ตั้งศาลต่างประเทศระหว่างคนไทยกับต่างประเทศ และให้เกิดมีศาลกงศุลขึ้นเป็นครั้งแรก
             ทหาร โปรดให้มีการฝึกหัดทหารแบบยุโรป โดยจ้าง "ร้อยเอกอิมเปย์" นายทหารนอกราชการของกองทัพบกอังกฤษ ประจําประเทศอินเดียมาเป็นครูฝึก พ.ศ. 2394 ได้จัดกองทหารประจําพระองค์ออกเป็น 2 กอง คือ "กองทหารรักษาพระองค์" ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม และ "กองทหารหน้า"
             ทหารเรือ มีการสร้างเรือชนิดที่ใช้เครื่องจักรกลขึ้น และทรงตั้งกรมเรือกลไฟ
             ตํารวจ มีตํารวจพระนครบาลขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 การตัดถนนและขุดคลอง โปรดให้สร้างถนนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2404 ถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก
             การขุดคลอง มีการขุดคลอง เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ และคลองดําเนินสะดวก
             ศาสนา พระราชกรณียกิจที่สําคัญในการทํานุบํารุงพุทธศาสนา คือ ทรงให้กําเนิดธรรมยุติกนิกาย มีการสร้างพระอารามหลวง มี 5 พระอารามได้แก่ วัดบรมนิวาส วัดโสมนัสวิหาร วัดประทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม วัดมกุฎกษัตริยาราม

วรรณคดี และกวี

              พระราชนิพนธ์ที่สําคัญ
1. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
2. บทระบํา
3. บทละครเรื่องรามเกียรติ์
4. บทเบิกโรงละครหลวง
5. โคลงพระราชทานพร
6. จารึกวัดราชประดิษฐ์
7. ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย หมวดภาษา และวรรณคดี
กวีในรัชสมัย เช่น พระยาอิศรานุภาพ หม่อมราโชทัย คุณสุวรรณ

ศิลปกรรม

              สถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ จิตรกรรม มีปรากฎอยู่ในพระอุโบสถ และพระวิหารวัดบวรนิเวศน์ ปฎิมากรรม มีการหล่อพระพุทธรูป

การศึกษา 

             โปรดจ้างแหม่มเลียวโนเวนส์ มาจากสิงคโปร์ เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และพระราชโอรสพระราชธิดา ด้วยทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปภายหน้า

การติดต่อกับต่างประเทศ

             ในรัชกาลนี้ มีการติดต่อกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง มีการทําสนธิสัญญากับนานาประเทศ เริ่มด้วยรัฐบาลอังกฤษได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เจ้าเมืองฮ่องกงในขณะนั้นเป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการเข้ามาขอเจรจาทําสนธิสัญญาทางไมตรีมาทางเรือรบ สนธิสัญญาที่ทําขึ้นมีผลที่สําคัญบังเกิดขึ้นคือ ก่อให้เกิดสิทธิภาพนอกอาณาเขต และอนุญาตให้คนในบังคับอังกฤษสามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทย
             การทูตของไทย พ.ศ. 2400 พระองค์ทรงโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) เป็นอัครราชทูต อัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ
             ไทยเสียเขมร ต่อเนื่องมาจากฝรั่งเศสครองญวนได้แล้ว จึงมาบังคับเขมรโดยอ้างว่าเขมรเคยเป็นเมืองขึ้นของญวนมาก่อน สมเด็จพระนโรดมกษัตริย์ของเขมร ขณะนั้น ยินยอมทําสัญญาลับยอมอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2406 และได้ส่งหนังสือมากราบบังคมทูลว่า ที่ยอมฝั่งเศสนั้นเพราะถูกบังคับ และต่อมา วันที่ 15 กรกฎาคม 2410 ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญายกกัมพูชาให้ฝรั่งเศส ศึกเมืองเชียงตุงการตีเมืองเชียงตุงนี้ ค้างมาตั้งแต่ปลายรัชกาล ที่ 3 แต่ตีไม่สําเร็จ

เสด็จสวรรคต

            พ.ศ. 2411 พระองค์ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตําบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามที่พระองค์ทรงทํานายเอาไว้ว่า จะเกิดในวันขึ้น 1 คํ่า เดือน 10 พ.ศ. 2411 หลังจากที่กลับมาแล้วก็ทรงประชวรหนัก และได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 พระชนมายุได้ 65 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 17 ปี มีพระราชโอรส และพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 82 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔

            เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

 อ้างอิงจาก http://www.geocities.com/nuannoradit2/king4.htm